======================================================
ID : NAME : E-MAIL
4810611105 : น.ส.วัลลดา เหรียญอร่าม : p760mmhg AT hotmail DOT com
4810611220 : นาย ธรานภ สายหรุ่น : sairoon AT msn DOT com

======================================================

Sunday, August 26, 2007

- - last week - -

วิเคราะห์ผลการทดลอง

ก่อนเริ่มทำการเก็บข้อมูลได้วัดระยะขอบเขตของการทดลอง โดยวัดจากขอบเขตที่ XBee 2 ตัว รับส่งข้อมูล (packet)ได้ นั่นคือระยะทางที่ XBee 2 ตัวห่างกัน 100 m ดังนั้น ระยะขอบเขตที่ใช้ในการทดลองจึงเป็น 200 m (ระยะก่องถึงจุดอ้างอิง และเลยจุดอ้างอิงไป อย่างละ 100m )

จากข้อมูลที่เก็บได้ นำมาคำนวณ ระยะเวลาที่ใช้ขณะรถยนต์เคลื่อนที่และปริมาณข้อมูลที่ส่งได้ภายในระยะทาง200mดังนี้

  • เวลาที่ใช้(วินาที) = [200 ระยะทางที่รถเคลื่อนที่(m)*60 จำนวนนาทีของหนึ่งชั่วโมง * 60จำนวนวินาทีของหนึ่งนาที] / [ความเร็วที่คงที่ของรถยนต์(km/hr)*1000จำนวนเมตรของหนึ่งกิโลเมตร]
  • ปริมาณข้อมูลที่ส่งได้(bytes) = จำนวนpacketsที่รับได้ * 32จำนวนไบต์ของหนึ่งpacket
  • ปริมาณข้อมูลที่ส่งได้(bits) = จำนวนpacketsที่รับได้ * 32จำนวนไบต์ของหนึ่งpacket*8จำนวนบิตของหนึ่งไบต์

ซึ่งจะคำนวณค่าที่ความเร็วต่างๆได้ตามตารางดังนี้


จากผลการทดลองที่เก็บข้อมูลมาจะเห็นได้ว่า ยิ่งรถยนต์เคลื่อนที่เร็วมากขึ้น packetsที่รับได้ก็จะยิ่งน้อยลง นั่นคือเมื่ออัตราความเร็วของรถเพิ่มขึ้นปริมาณข้อมูลที่ส่งได้จะลดลงเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจากขณะที่รถยนต์เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ต่างๆ ในระยะทางที่เท่าเดิม ถ้าความเร็วมากขึ้นจะทำให้เวลาในการรับส่งข้อมูลน้อยลง

ความสัมพันธ์ของความเร็วและปริมาณข้อมูลที่รับส่งได้จะเป็นไปตามรูปต่อไปนี้

แผนภูมิแบบแท่งของปริมาณข้อมูลที่ส่งได้ที่ความเร็วต่างๆ


ร้อยละของปริมาณข้อมูลที่ส่งได้ที่ความเร็วต่างๆ



กราฟความสัมพันธ์ของปริมาณข้อมูลที่ส่งได้ที่ความเร็วต่างๆ



นอกจากนี้แล้วในการทดลองจะเห็นได้ว่า ขณะที่XBee2ตัวเคลื่อนที่มาอยู่ใกล้กันจะส่งข้อมูลได้ปริมาณมากกว่าที่อยู่ห่างกัน




การประยุกต์ใช้ในอนาคต

จากผลการทดลองนี้มีโอกาสที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่างๆได้
ตัวอย่างเช่น ถ้าเกิดรถยนต์มีวงจรXBee เพื่อเป็นรับส่งข้อมูลต่างๆกับXBeeอีกตัวที่อยู่ตามท้องถนนซึ่งคอยเป็นตัวส่งข้อมูลของสภาพการจราจร,อุบัติเหตุที่เกิดขี้นบนถนนเส้นต่างๆ หรือพร้อมทั้งส่งรูปมาให้ทราบถึงการจราจรบนถนนเส้นต่างๆ ซึ่งจะเป็นส่วนการช่วยลดปัญหาการจราจรลดลง




สรุปผลการทดลอง
PROJECT : ZigBee Mobility Experiment


การทดลองนี้เป็นการทดลองเพื่อศึกษาในเรื่องการรับส่งข้อมูลขณะเคลื่อนที่ ในระบบเทคโนโลยีไร้สายประเภทZigBee โดยในการทดลองนี้ใช้ชุดทดลองXBee เป็นตัวในการรับส่งข้อมูล โดยให้XBeeตัวหนึ่งเป็นฐานในการส่งข้อมูลอยู่ภายในรถที่อยู่นิ่ง และอีกตัวอยู่ภายในรถที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ต่างๆ ภายในระยะทางที่กำหนดไว้ 200 m ซึ่งจะพบว่า ยิ่งอัตราเร็วของรถเพิ่มขึ้น ปริมาณของข้อมูลที่ส่งได้ก็จะยิ่งลดลง เนื่องจากเวลาจะลดลงเมื่อรถเคลื่อนที่เร็วขึ้น และขณะXBeeเคลื่อนที่เข้ามาใกล้กับXBeeตัวที่อยู่นิ่ง อัตราการรับส่งข้อมูลก็จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมยังพบอีกว่าระบบ802.15.4สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์พื้นฐานเช่น เซนเซอร์ และ Actuators ที่มีราคาถูกและยังสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายโดยอุปกรณ์ต่างๆจะสื่อสารกันเองอย่างเป็นระบบตามที่ได้ตั้งไว้ ซึ่งจากการทดลองนี้จะเห็นได้ว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาการจราจรโดยที่รถยนต์ตามท้องถนนจะรับข้อมูล สภาพการจราจร ข้อมูลด้านอุบัติเหตุต่างๆ จากตัวฐานที่ส่งข้อมูลอยู่ตามสถานที่ต่างๆบนถนน และยังสามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายกับไฟตามท้องถนน โดยจำมีการทำงานแบบอัตโนมัติ เช่น ไฟที่ส่องสว่างจะลดลงเมื่อไม่มีรถผ่านมา